ทำไมเราต้องแก่!! (Mechanism of Aging)
คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า...
- ทำไมเด็กทารกจึงได้เติบใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
- ทำไมเวลาผู้หญิงเข้าสู่วัยรุ่นแล้วจะเริ่มมีประจำเดือน มีสิว มีผิวอิ่มสวยสดใส ?
- ทำไมเมื่อผู้หญิงย่างเข้าสู่อายุ 45-50 ปี ถึงเริ่มหมดประจำเดือน ผิวเหี่ยวหย่อน?
- ทำไมเด็กผู้ชายถึงเสียงแหบ มีสิว รูปร่างยาวเก้งก้าง ตอนย่างเข้าสู่วัยรุ่น?
- ทำไมตอนอายุเข้าวัย 50 ปี คนเราถึงเริ่มมีผมหงอก มีริ้วรอย ผิวหน่อยคล้อย ผิวแห้งกร้าน?
- ทำไม ... ? (อีกมากมาย)
ความแก่นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร!!
ความแก่นั้นเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ แต่ความชรานั้นเป็นช่วงสุดท้ายของชีวิตมนุษย์ ความแก่ที่จะกล่าวถึงนี้จึงเป็นกระบวนการพัฒนาของสิ่งมีชีวิตจากวัยที่อ่อนเป็นวัยที่แก่ขึ้น ดังนั้น จากลูกอ่อนในครรภ์ เมื่อแก่ตัวจะคลอดออกมาเป็นทารกเติบใหญ่เป็นเด็กหนุ่มเด็กสาว เป็นผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุในที่สุด จะเห็นได้ว่า ความแก่เป็นเรื่องของการพัฒนาการในเด็ก ที่มีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ การพัฒนาจะรวดเร็วมากทำให้เข้าสู่วัยสูงอายุในเวลาอันสั้น จากหน้าเด็กกลายเป็นหน้าคนชรา ผิวหนังเหี่ยวย่นลงทันที แต่ในคนบางคน ถึงแม้อายุจะย่างเข้าวัยชรา แต่มองดูหน้าตายังเต่งตึงเหมือนวัยหนุ่มสาว โดยไม่ต้องทำศัลยกรรมตกแต่งหรือฉีดสารใด ๆ เข้าใต้ผิวหนังเลย ความแก่จึงดูเหมือนว่า ไม่ให้ความเสมอภาคแก่ทุกคนเหมือนกับเป็นแบบแผนที่ถูกกำหนดขึ้นมาและมีผลกับคนทั่วไปทุกคน และเป็นสภาวะที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นผลที่เกิดจากการทำงานของกลไกของการก่อเกิดความแก่ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ มากมายภายในระบบของร่างกายที่ทำงานสอดรับและสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม ซึ่งกลไกเหล่านี้ยากที่จะทำการศึกษาเพียงเรื่องใดเรื่องเดียว แล้วจะนำมาอธิบายเหตุการณ์ทั้งหมดได้ จึงมีหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายถึงกลไกของการทำให้แก่ขราที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยอ้างถึงความสัมพันธ์ที่กระบวนต่างๆ ที่ทำงานเชื่อมโยงกัน
การแบ่งกลไกของของการก่อให้เกิดความแก่ชราออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ด้วยกันดังนี้
1. Micro accidents กลไกการสั่งสมความเสียหายในระดับเซลล์ที่เกิดขึ้นกระจายทั่วทั้งร่างกาย
มีการสั่งสมความเสียหายในระดับเซลล์ที่เกิดขึ้นกระจายทั่วร่างกาย ซึ่งรวมไปถึงสภาวะที่ไปทำลายโครงสร้างสำคัญของร่างกาย เช่น
- อนุมูลอิสระ ของเสียที่เกิดจากการทำงานของเซลล์ และเป็นตัวสำคัญในการทำลาย DNA และโปรตีน
- Mutagen เป็นสารเคมีที่มีผลกระบทต่อ DNA ทำให้รบกวนการทำงานของยีนได้
- ผลกระบทจากรังสีต่างๆ เช่นรังสี UV, X-ray ที่สร้างความเสียหายในระบบเซลล์ได้
- สารเคมีบางอย่าง เช่น อัลดีไฮด์, ฟอร์มาดีไฮด์ ฯลฯ ทำให้เกิดผลเสียต่อส่วนประกอบภายในเซลล์ได้
- อื่นๆ ...
ความเปลี่ยนแปลงพวกนี้เกิดขึ้นตลอดเวลาในเซลล์ของเรา ส่วนใหญ่จะไม่มีผลเสียหายต่อร่างกายมากนัก เพราะตามธรรมชาติของร่างกายเราจะมีกระบวนการเข้าไปแก้ไข และก็อาจจะมีบางส่วนที่หลุดรอดมาได้ ซึ่งก็มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ถ้ามีการสั่งสมความเสียหายเล็กๆ เหล่านี้รวมกันเป็นระเวลานานเข้า ก็อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะต่างๆ ได้ รวมไปถึงเมื่อพวกเรามีอายุมากขึ้น กระบวนการแก้ไขนี้อาจจะบกพร่องหรือมีประสิทธิภาพที่ลดลง การเปลี่ยนแปลงพวกนี้แม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจจะก่อให้เกิดความเสียได้เช่นกัน
2. Aging Clocks ความแก่ชราภาพที่ถูกโปรแกรมไว้ในระดับพันธุกรรม ซึ่งก็คือ นาฬิกาช่วงชีวิต
ในยุคเริ่มต้นที่มีการวิจัยเรื่องอายุ มีข้อถกเถียงกันมากว่ากลไกของ Aging clock มีจริงหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงพบว่า สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจะไม่มี Aging Clock พวกมันจึงสามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้อย่างไม่จำกัด เช่น เชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ก็มีหลักฐานมากมายที่สนับสนุนว่า สิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนขึ้น เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะมี Aging Clock มากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป
เซลล์ส่วนใหญ่ในสิ่งมีชีวิตระดับสูง จะมีนาฬิกาช่วงชีวิต หมายความว่า เซลล์พวกนี้ถูกจำกัดจำนวนในการแบ่งตัวเพิ่มปริมาณ เช่น เซลล์ผิวหนังกบ สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้เพียง 10 ครั้ง เป็นต้น เรียกว่า Cellular clock
เซลล์ส่วนใหญ่ในสิ่งมีชีวิตระดับสูง จะมีนาฬิกากลางอยู่ที่สมอง ซึ่งจะคอยติดตามการพัฒนาการและช่วงอายุของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ เรียกว่า Central clock
– นาฬิกาตัวนี้จะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากในแต่ละคน แต่ละเผ่าพันธุ์ชีวิต ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมภายนอกจะมีผลต่อนาฬิกาให้เดินเร็วหรือช้าได้ ยกตัวอย่างเรื่องความเครียดจะไปเร่งให้นาฬิกานี้เดินเร็วขึ้น เป็นต้น
Note: ตัวอย่างของ Aging Clock ที่ชัดเจน คือ นาฬิกาที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ในผู้หญิง ซึ่งจะเปิดใช้งานเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ผู้หญิงก็จะเริ่มมีประจำเดือน และเมื่ออายุประมาณ 45 ปี นาฬิกาที่ว่านี้ก็จะปิดการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ทำให้ผู้หญิงเข้าสู่วัยทอง เป็นต้น
3 .ทฤษฎีที่ว่าด้วยกลไกการดับสูญไปของสิ่งมีชีวิต
- Disposable Soma & Genetic Theory เป็นการอ้างอิงถึงการมีอายุที่เพิ่มมากขึ้นที่ถูกกำหนดเป็นผลมาจากในระดับสารพันธุกรรม
- Immunological Theory ว่าด้วยเรื่องทฤษฎีระบบภูมิคุ้มกัน ที่เชื่อว่าภูมิคุ้มกันจะเริ่มลดลงตามอายุที่มากขึ้น และยังผลให้เซลล์เสื่อมสภาพและตายลงในที่สุด
- Telomere Theory เป็นทฤษฎีเรื่องการหดตัวสั้นลงเรื่อยๆของเซลล์ Telomere ในส่วนบนของสารพันธ์กรรม DNA เมื่อเมื่อเรามีอายุมากขึ้น ทำให้เราดูแก่ลงทุกวันนั้นเอง
ปัจจัยอะไรที่ทำให้คนเราแก่เกินกว่าที่ธรรมชาติกำหนดไว้
เริ่มต้นจากการกินต้องครบทุกหมู่เหล่า และเหมาะสมตามวัยเจริญเติบโต คนที่อยู่ตามชนบท มักขาดสารอาหารจำพวกโปรตีน ขณะที่คนในเมืองมักกินอาหารที่มีไขมันมากเกินไป การกินอาหารที่ปราศจากยาฆ่าแมลง สารกันบูด สารเคมีอื่น ๆ ย่อมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้อายุยืนกว่าขณะนี้
การรู้จักป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ โดยใช้ชีวิตประจำวันอย่างถูกสุขลักษณะ เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก
การสวมเสื้อผ้าตามฤดูกาล การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ และอากาศบริสุทธิ์ ถ่ายเทได้สะดวก ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก การออกกำลังกายหรือใช้แรงในท่าที่ถูกต้อง และไม่หักโหมเกินกำลังของตนเอง ทำให้ไขข้อไม่เสื่อมเร็วเกินไป การหลงใหลในกามกิจมากเกินไปจนทำให้ร่างกายทรุดโทรมกว่าปกติ ย่อมเป็นสิ่งเร่งกระบวนการเข้าสู่ความชราภาพให้เร็วขึ้น
การที่จะชะลอความแก่ ย่อมหมายถึงการรักษาสภาพของสิ่งมีชีวิตให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ความเป็นสิ่งมีชีวิต คือสามารถกินอาหาร (ครบทุกหมู่เหล่า) ได้หายใจ (อากาศบริสุทธิ์) ได้ เคลื่อนไหว (บ่อย ๆ แต่ไม่มากเกินไป) ได้ และยังมีความสามารถสืบพันธุ์ได้ (เมื่อไม่พร่ำเพรื่อเกินไป)ตราบใดที่สภาพของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวได้บกพร่องไป ตราบนั้นความชราภาพจะเกิดขึ้นได้ทันที ความแก่จึงเป็นสิ่งที่สามารถชะลอได้ วิธีชะลอความแก่จำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ มิใช่มาชะลอเมื่อก้าวเข้าสู่บั้นปลายของชีวิตแล้ว